1) ไวท์บาลานซ์
เมื่อคุณเจอสิ่งที่ต้องการจะถ่าย จัดองค์ประกอบ และโฟกัสเรียบร้อยแล้ว
ให้ปรับค่าไวท์บาลานซ์ตามสภาพอากาศในขณะนั้น
ค่าไวท์บาลานซ์ที่ไม่ถูกต้องไม่เพียงจะสร้างความสับสนให้กับภาพในจอ LCD
เท่านั้น แต่มันยังส่งผลต่อค่า Histogram ของค่าการเปิดรับแสงอีกด้วย
หากคุณอยากจะรู้ว่ามันเป็นอย่างไร ลองเปิดภาพ RAW ในโปรแกรม
Photoshop Element แล้วลองปรับค่าไวท์บาลานซ์ จากนั้นลองดูว่า
Histogram เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
2) ค่า ISO
ตามกฏพื้นฐานนั้น ให้คุณใช้ค่าที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูงที่สุด เวลาที่คุณเพิ่ม ISO
ก็เหมือนกับคุณเพิ่มปริมาณ Noise ในภาพด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณวัดแสงออกมาอันเดอร์และจำเป็นต้องดึงความสว่าง
ของภาพคืนมาในโปรแกรม แม้แต่การทำงานของกล้อง Nikon D3 ที่ค่า
ISO สูงๆ นั้นดีอย่างไม่น่าเชื่อแต่เราก็ควรที่จะใช้ค่า ISO ที่ 100-400 เท่านั้น
ในกล้อง DSLR ทั่วๆไป
3) โหมดถ่ายภาพ
อะไรคือสิง่ที่สำคัญที่สุดในภาพ? ถ้าเป็นระยะชัดลึกก็ให้เลือกไปที่ AV Mode
แล้วเลือกรูรับแสงแคบๆ ( ค่า f สูงๆ) แต่ถ้าหากต้องการระยะชัดตื้นก็ให้เลือก
รูรับแสงกว้างๆ ( ค่า f ต่ำๆ ) แต่ถ้าเป็นการหยุดแอ็คชั่นหรือการทำให้ภาพเบลอ
เป็นสิ่งสำคัญที่สุดก็เลือกเป็นโหมด Tv (ในกล้อง Canon) หรือ S (ในกล้อง Nikon)
4) ค่าการเปิดรับแสง
และสุดท้าย เลือกรูปแบบการวัดแสงที่เหมาะกับตัวแบบและสภาพแสง
และใช้การปรับชดเชยแสงเพื่อรักษาไฮไลต์และชาโดว์เอาไว้ เช็คให้แน่ใจ
ว่าคุณได้ปรับค่าต่างๆ คืนค่าเดิมหลังจากที่คุณได้ถ่ายภาพนั้นไปแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น