วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เคล็ดลับการใช้กล้อง DSLR (4)


วิเคราะห์ภาพถ่ายของคุณ

ลืมอารมณ์ความตื่นเต้นในตอนที่คุณถ่ายภาพนั้นไปก่อน
ถ้าภาพของคุณไม่ได้ดูโดดเด่นขึ้น โดยที่คุณไม่ได้บรรยายประกอบด้วยว่าคุณต้องตื่นเช้าแค่ไหน
ต้องเดินป่าไกลเพียงใด หรือต้องปีนป่ายขึ้นไปสูงเท่าไหร่
นั่นก็หมายความว่าภาพของคุณ คงขาดอะไรไปซักอย่าง

อย่านั่งดูภาพของคุณทั้งหมดทันทีที่คุณถ่ายพวกมันเสร็จ
เพราะยิ่งคุณเว้นช่องว่างระหว่างการถ่ายภาพและการคัดเลือกภาพได้มากขึ้นเท่าใด
คุณก็จะใช้อารมณ์ร่วมกับภาพเหล่านั้นน้อยลงเท่านั้น
คุณจะต้องซื่อสัตย์กับการตัดสินของคุณ คุณจะสามารถพัฒนาตัวคุณได้
จากข้อผิดพลาดที่คุณได้ทำเอาไว้ และนี่คือสี่หัวข้อ ที่คุณควรพิจารณา
เวลาที่คุณดูภาพของคุณ

1) องค์ประกอบภาพ
นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ลองมองหาสิ่งที่รบกวนสายตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฉากหลัง
ที่คุณมักจะพลาดเวลาถ่ายภาพ ภาพของคุณดูโดดเด่นขึ้นมาด้วยองค์ประกอบภาพที่สวยงาม
หรือว่ามันดูเหมือนภาพที่บันทึกจนเกินไป? ถ้าคุณเริ่มรู้สึกว่า "แล้วไง?"
นั่นก็มักจะมาจากองค์ประกอบที่แย่และสภาพแสงที่ไม่มีชีวิตชีวา
คุณจะแก้ไขยังไงในคราวหน้า ?

2) ความคมชัด
ตัดสินอย่างตรงไปตรงมาเลยในข้อนี้
ภาพของคุณคมชัดหรือไม่? ลองดูที่ขอบภาพ คุณได้เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วพอ
ที่จะหยุดการเคลื่อนไหวหรือยัง หรือเลือกรูรับแสงที่เล็กพอที่จะได้ระยะชัดลึกที่เพียงพอ?
ในทางตรงกันข้าม คุณก็ไม่ควรพอใจกับภาพที่มีเพียงแค่ความคมชัดเท่านั้น
บ่อยครั้งที่คุณมักถูกหลอกล่อจากภาพมาโครของผีเสื้อเนื่องจากคุณสามารถนั่งนับทุกๆ
เส้นขนบนตัวของมันได้ แต่ภาพนั่นดูเป็นอย่างไรเมื่อมองทั้งภาพละ?

3) ค่าการเปิดรับแสง
ตรวจเช็ค Histrogram ใน Levels (Image > Adjustment > Levels)
ดูว่าข้อมูลส่วนปลายในกราฟนั้น "ขาด" หรือเปล่า? ถ้ากราฟนั้นเทเอียงไปทางด้านซ้าย
ภาพของคุณจะมีชาโดว์ที่ทึบตัน แต่ถ้ามันเทไปทางขวา ภาพของคุณก็จะมีไฮไลต์ที่ขาวโพลน
ชาโดว์ที่ขาดรายละเอียดยังน่าดูกว่าไฮไลต์ที่ขาวโพลนมาก หากภาพของคุณดูทึมเทา
และแบนเรียบไร้มิติ ลองลากขาเลื่อนไฮไลต์และชาโดว์ไปจนสุดปลายของกราฟแต่ละด้าน

4) จังหวะ
การวางเฟรม ความคมชัด และค่าการเปิดรับแสงอาจจะดูถูกต้อง แต่ภาพของคุณบันทึก
จังหวะที่ดีที่สุดแล้วหรือยัง? คุณได้เก็บบันทึกจังหวะ สีหน้า ภายในเสี้ยววินาที
ของภาพบุคคลไว้แล้วใช่ไหม? มีแสงสาดเข้าให้ไฮไลต์กับต้นไม้ที่อยู่ฉากหลังของภาพหรือเปล่า?
ลองถ่ายภาพหลายๆเฟรม เวลาที่มีจังหวะเหล่านี้เกิดขึ้น มืออาชีพเขาทำกันอย่างนั้น
แล้วค่อยมานั่งพิจารณาดูกันว่า ภาพไหนมีส่วนผสมที่ลงตัวที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น