วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ราคากล้อง 25 กรกฏาคม 2552

Canon

- EOS 1000D + KIT = 18,900

- EOS 450D + KIT = 23,200

- EOS 500D BODY = 26,900

- EOS 500D + KIT = 31,500

- EOS 40D BODY = 28,500

- EOS 40D + KIT = 32,000

- EOS 50D BODY = 40,900

- EOS 5D Mark II BODY = 95,500

- EOS 5D Mark II + KIT = 130,000

- 1D Mark III = 122,000

- 1Ds Mark III = 222,000



Nikon

- D60 + KIT = 20,900

- D5000 BODY = 28,000

- D90 BODY = 34,200

- D90 + 18-105VR = 46,000

- D300 BODY = 53,900

- D700 BODY = 84,000

- D3 BODY 145,000

- D3X BODY = 262,000


FUJIFILM
- FINEPIX S5 PRO BODY 34,900


OLYMPUS

- E-420 + KIT 14-42 17,990

- E-510 + KIT 14-42 N/A

- E-520 + KIT 14+42 23,990

- E-620 + KIT 14-42 29,900

- E-30 BODY 44,900

- E-3 BODY 55,900


PANTAX

- K2000D + KIT 18-55 27,990

- K200D + KIT 18-55 19,900

- K20D + KIT 18-55 39,900


SONY

- ALPHA 200 + KIT 18-70 18,990

- ALPHA 300 + KIT 18-70 22,990

- ALPHA 350 BODY 24,990

- ALPHA 700 BODY 34,990

- ALPHA 900 BODY 95,990

เทคนิคการวัดแสง ตอนที่ 2

การถ่ายภาพให้ OVER/UNDER



การศึกษาเรื่องการวัดแสงและชดเชยแสงนั้นนอกจากทำให้เราถ่ายภาพได้สีและความสว่างที่สมจริงแล้ว ซึ่งนักถ่ายภาพควรฝึกฝนให้สำเร็จเป็นพื้นฐาน

ในระดับก้าวหน้านั้น นักถ่ายภาพอาจจะต้องการได้ภาพที่ดูเข้มหรือสว่างกว่าจริงตามที่ต้องการก็ได้ ซึ่งการชดเชยแสงที่จะเป็นเครื่องมือชิ้นเดิมที่ช่วยให้เราได้ภาพตามที่ต้องการ เรียกว่าถ่ายภาพให้ OVER/UNDER

การถ่ายภาพให้ OVER/UNDER หรือภาพที่ดูสว่างหรือเข้มกว่าจริงนั้นขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้ถ่ายภาพว่าต้องการได้ภาพที่มีผลลัพธ์ในลักษณะใด แต่ก่อนอื่น สำหรับการวัดแสงอ้างอิงกับวัตถุที่มีสีเข้มหรืออ่อนกว่าเทากลางอยู่แล้ว นักถ่ายภาพจะต้องทราบระดับการชดเชยแสงที่ให้ภาพที่มีสีสันถูกต้องสมจริงซะก่อน


ภาพถ่าย OVER มากๆยังใช้กับการถ่ายภาพที่มีโทนสีสว่างในภาพเป็นส่วนใหญ่ (HIGH KEY) เช่นภาพของม่านหมอกที่ปกคลุมอยู่บนยอดเขา เป็นทะเลหมอก ซึ่งการวัดแสงที่สายหมอกแล้ว OVER 1.5 stop จะได้ภาพสายหมอกที่ขาวสมจริง ก็อาจจะเลือกปรับให้ OVER มากขึ้นอีก 0.5 stop รวมเป็น 2 stop เพ่อให้ภาพดูสว่างมากขึ้นกว่าจริงอีกเล็กน้อย

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการเลือกซื้ิอเลนส์สำหรับมือใหม่ #1



สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเลนส์ตัวที่สองต่อจาก เลนส์คิท ที่ติดมากับกล้องนั้นควรจะได้อ่านบทความบทนี้กันก่อนครับเพราะเลนส์นั้นก็มีราคาค่อนข้างแพง ยิ่งเป็นเลนส์เกรดสูงๆ ก็มีราคาหลักหมื่น จนถึงหลายหมื่นกันเลยทีเดียว

ผมนั้นเริ่มต้นถ่ายภาพด้วยเลนส์ คิทที่ติดมากับกล้อง 40D นั้นคือเลนส์ 18-55 IS USM ซึ่งก็ถือว่าในช่วงแรกๆ นั้นมันช่วยให้เราเข้าใจศัพท์ใหม่ๆ เช่น รูรับแสง (A) , ทางยาวโฟกัส (Focal Lense) และ ค่าอื่นๆ อีกมากมาย

พอเริ่มใช้ง่ายไปซักพักผมก็เริ่มรู้สึกว่าเลนส์ที่ติดกับกล้องมานั้นมันเริ่มตอบสนองความต้องการไม่ได้แล้ว (อยากเสียเงินว่างั้นเถอะ) ก็เลยถามตัวเองดูว่า เราต้องการถ่ายอะำไรเป็นหลัก ตอบไปแบบไม่คิดเลยครับว่า "ถ่ายสาวๆ" อิอิ เท่านี้ก็ได้โจทย์แล้วครับ คือ ซื้อเลนส์ถ่ายสาว จริงๆแล้วหลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า "หน้าชัดหลังเบลอ" กันมาบ้างแล้วใช่มั้ยครับ ส่วนใหญ่ว่าเวลาถ่ายภาพแนว Portrait ก็มักจะถ่ายแบบนี้มาแล้วทั้งนั้น


เลนส์ที่ตอบโจทย์ในข้อนี้ได้ก็มีอยู่หลายตัว อาทิ เ่ช่น 50mm f1.4 , 50mm f1.8, 85mm f1.8, 70-200mm f4 และ 70-200mm f 2.8

ตัวแปลที่จะทำให้ภาพออกมาเป็นหน้าชัดหลังเบลอนั้น มีอยู่ดังนี้
  • รูรับแสง ยิ่งกว้างยิ่งดี (F ค่าเลขต่ำๆ เช่น f1.2)
  • ระยะห่างของตัวแบบและเลนส์
  • ทางยาวโฟกัส (ช่วงเลนส์ เช่น 200mm )

ซึ่งเลนส์แต่ละตัวนันราคาแต่ต่างกันครับ ตั้งแต่ 3,000- 80,000 บาทกันเลยทีเดียว สำหรับมือใหม่ แบบผมก็น่าจะลองที่ 50mm f1.8 กันไปก่อน เพราะ มีราคาย่ิอมเยา หรือถ้าเงินหนาๆ ก็ เล่น 70-200mm f2.8 ไปเลยครับ แต่ท่านอาจจะต้องเมื่อยแขนไม่ใ่ช่น้อย เพราะตัวเลนส์นั้นมีน้ำหนักค่อนข้างมาก


สิ่งที่ต้องควรระวังในการใช้การเลนส์ 50mm f1.8 ก็คืออย่าเข้าไปถ่ายในระยะประชิดให้มากครับ เพราะมันจะบวม เดี๋ยวนางแบบจะงอนเอาได้ อิอิ


ตอนที่หนึ่งขอจบเอาไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับ

สวัสดี

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการวัดแสง ตอนที่ 1

กล้องรุ่นเก่ามักจะมีระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยเน้นกลางภาพมาให้อย่างเดียว กล้องบางรุ่นก็อาจจะมีระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุดมาให้อย่างเดียว นักถ่ายภาพที่ไม่มีระบบวัดแสงอื่นๆ เป็นทางเลือกควรจะศึกษาและทำความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการใช้ระบบวัดแสงระบบเดียวที่มีอยู่นั้นให้ชำนาญมากที่สุด



และสามารถใช้ในการวัดแสงกับการถ่ายภาพทุกๆ รูปแบบได้อย่างพอเหมาะพอดี หรือตรงกับความต้องการ ระบบวัดแสงแต่ละแบบจะมีเทคนิคในการประยุกต์ดัดแปลงการใช้ให้สามารถถ่ายภาพได้ในทุกๆ รูปแบบได้เสมอ




สำหรับนักถ่ายภาพที่ใช้กล้องที่มีระบบวัดแสงให้เลือกหลายๆ ระบบ ตั้งแต่สองระบบขึ้นไป ก็ควรทำความเข้าใจในลักษณะของระบบวัดแสงที่ใช้ ว่าเหมาะกับการใช้วัดแสงเพื่อถ่ายภาพในรูปแบบใด เมื่อได้พบกับกรณีการถ่ายภาพต่างๆ แล้ว ก็จะสามารถเลือกใช้ระบบวัดแสงต่างๆ ที่มีให้เลือกได้อย่างเหมาะสมที่สุด


นักถ่ายภาพที่กำลังเริ่มต้นศึกษาและยังมีประสบการณ์ไม่มากนักด้านการวัดแสง ควรเริ่มต้นศึกษาและทดลองการถ่ายภาพจากระบบวัดแสงแบบ เฉลี่ยหลายส่วน สำหรับการทดลองใช้ถ่ายภาพทั่วๆ ไปซะก่อน แต่้ถ้าไม่มีระบบนี้ ก็ให้เริ่มต้นศึกษาและทดลองถ่ายภาพด้วยระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยเน้นกลางภาพ หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจในข้อจำกัดต่างๆ ของระบบวัดแสงแต่ละแบบ ควรทดลองละทำการจดบันทึกข้อมูลที่จำเป็นเอาไว้ ว่าระบบวัดแสงแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร และควรชดเชยแสงเท่าไหร่


เพื่ิอนำไปพัฒนาและศึกษาหาวิธีปรับปรุงเทคนิคการวัดแสงของตนเองต่อไป

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ถ่ายภาพวิวยังไงให้สวย

การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์นั้น อุปกรณ์ไม่ใช่ปัญหาหรอกครับแต่ที่เป็นปัญหาหลักๆก็คือว่า
อากาศในช่วงที่เราไปนั้นมันเหมาะสมกับการถ่ายรูปหรือไม่


หลายๆคนน่าจะทราบดีว่า แสงเวลาเช้าๆ และเย็นๆนั้นจะเป็นแสงที่เหมาะกับการถ่ายรูปที่สุด
แต่บางทีมันก็ไม่ใช่เสมอไปนะครับ เพราะนั้นอาจจะเป็นแสงที่เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคล
แต่เวลาเราถ่ายภาพวิว เพื่อที่จะให้สีสันมันอิ่มตัว สดใส นั้น
บางครั้งเราก็จำำเป็นที่จะต้องใช้แสงที่ค่อนข้างแรงๆ แต่มันก็มีวิธีนะครับ ไม่ใช่ว่าเห็นแดดแรงๆ
ก็วิ่งไปถ่ายมั่วๆ แบบนี้มันก็ไม่ไหว



ผมจะยกตัวอย่าง การถ่ายภาพวิวทะเลนะครับ ถ้าจะให้ดีก็ควรมี CPL ติดหน้าเลนส์เอาไว้
เพื่อลดแสงสะท้อนจากผิวน้ำ และเพิ่มความเข้มให้ท้องฟ้า บางครั้งเราอาจจะต้องใช้ Filter ND
เพื่อลดแสงที่มีความต่างกันมากๆ


อย่างที่เกริ่นเอาไว้ตอนต้น ว่าสภาพอากาศ นั้นมีผลกับการถ่ายภาพวิวมากที่สุด ดังนั้นผมจะมาแนะนำ
ข้อควรรู้ก่อนที่จะไปถ่ายภาพวิวทิวทัศน์



  • ควรตรวจสอบสภาพอากาศของสถานที่ที่เราจะไปถ่ายภาพ ล่วงหน้าซักนิด ว่าจะมีฝน หรือพายุ หรือไม่ เพราะถ้าฟ้าปิด มีเมฆมาก แสงที่ได้จะ ขะมุกขะมัว ไม่ใส แน่ๆ
  • ควรตรวจสอบว่า พระอาทิตย์ ขึ้น และ ตก ทางทิศไหน เพราะเราจะได้เตรียมตัวได้ถูก สำหรับการถ่ายภาพ พระอาทิตย์ขึ้น และ ตก
  • ขาตั้งกล้อง อย่าลืม เพราะคุณต้องได้ใช้มันแน่ๆ และถ้ายิ่งคุณต้องการถ่ายภาพ HDR ละก็ มันขาดไม่ได้จริงๆ
  • หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพย้อนแสง เพราะจะทำให้ ท้องฟ้าที่ได้นั้น มีสีขาว ไม่เป็นสีฟ้าอย่างที่ควรเป็น ควรหันหลังให้ดวงอาทิตย์
  • ใช้ F แคบๆ เพื่อให้ภาพชัดทั้งภาพ แต่ไม่ควรใช้ F แคบที่สุดของเลนส์
  • เส้นขอบฟ้า อย่าให้เอียงเด็ดขาด
  • พยายามหาฉากหน้าเสมอๆ เพื่อความสมบูรณ์ของภาพ